พ.ศ. 2560
พุทธศักราช 2560 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2017 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น ปฏิทินสุริยคติไทย 2560 ปฏิทินเกรกอเรียน 2017
MMXVIIAb urbe condita 2770 ปฏิทินอาร์มีเนีย 1466
ԹՎ ՌՆԿԶปฏิทินอัสซีเรีย 6767 ปฏิทินบาไฮ 173–174 ปฏิทินเบงกอล 1424 ปฏิทินเบอร์เบอร์ 2967 ปีในรัชกาลอังกฤษ 65 Eliz. 2 – 66 Eliz. 2 พุทธศักราช 2561 ปฏิทินพม่า 1379 ปฏิทินไบแซนไทน์ 7525–7526 ปฏิทินจีน 丙申年 (วอกธาตุไฟ)
4713 หรือ 4653
— ถึง —
丁酉年 (ระกาธาตุไฟ)
4714 หรือ 4654ปฏิทินคอปติก 1733–1734 ปฏิทินดิสคอร์เดีย 3183 ปฏิทินเอธิโอเปีย 2009–2010 ปฏิทินฮีบรู 5777–5778 ปฏิทินฮินดู - วิกรมสมวัต 2073–2074 - ศกสมวัต 1939–1940 - กลียุค 5118–5119 ปฏิทินโฮโลซีน 12017 ปฏิทินอิกโบ 1017–1018 ปฏิทินอิหร่าน 1395–1396 ปฏิทินอิสลาม 1438–1439 ปฏิทินญี่ปุ่น ศักราชเฮเซ 29
(平成29年)ปฏิทินจูเช 106 ปฏิทินจูเลียน เกรกอเรียนลบ 13 วัน ปฏิทินเกาหลี 4350 ปฏิทินหมินกั๋ว ROC 106
民國106年เวลายูนิกซ์ 1483228800–1514764799 เนื้อหา
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)
มกราคม
- 1 มกราคม
- เกิดเหตุกราดยิงที่ไนต์คลับในกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 39 คน และบาดเจ็บอย่างน้อย 69 คน
- อังตอนียู กูแตรึช ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติลำดับที่ 9 ต่อจากพัน กี-มุน
- 6 มกราคม - จังหวัดฟอร์ส ประเทศอิหร่าน เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 5.0 มีผู้เสียชีวิต 4 ราย
- 19 มกราคม – กองกำลังทหารของประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกันตะวันตก (ECOWAS) จากประเทศเซเนกัล กานา และไนจีเรีย เข้าคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศแกมเบีย ด้วยการบังคับให้ประธานาธิบดียาห์ยา จัมเมห์ สละตำแหน่ง หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับอาดามา บาร์โรว์ เมื่อเดือนธันวาคม 2559 แต่จัมเมห์ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งดังกล่าว
- 21 มกราคม – กลุ่มสตรีหลายล้านคนในสหรัฐและหลายประเทศ เข้าร่วมการชุมนุมในนาม "การเดินขบวนของผู้หญิง" (Women's March) เพื่อประท้วงประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ ในประเด็นการคุกคามสิทธิสตรี โดยการชุมนุมครั้งนี้ถือเป็นการชุมนุมแบบวันเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ
- 26 มกราคม – คณะนักวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐ ออกประกาศว่า สามารถสร้างไฮโดรเจนโลหะในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นครั้งแรกของโลก
- 27 มกราคม – ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ออกคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 13769 ให้จำกัดการอพยพและการเดินทางเข้าสหรัฐของพลเมืองจากประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม 7 ประเทศ ได้แก่ อิรัก อิหร่าน ลิเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย และเยเมน
กุมภาพันธ์
- 11 กุมภาพันธ์ – รัฐบาลเกาหลีเหนือทดสอบยิงขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามเขตทะเลญี่ปุ่น ส่งผลให้นานาชาติประณามการกระทำดังกล่าว
- 24 กุมภาพันธ์ - วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครบ 250 ปี
มีนาคม
- 10 มีนาคม
- ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลีมีมติถอดถอนพัก กึน-ฮเย ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี
- สหประชาชาติประกาศเตือนว่า โลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยอ้างอิงจากเหตุการณ์ที่ผู้คนกว่า 20 ล้านคนในประเทศเยเมน โซมาเลีย ซูดานใต้ และไนจีเรีย กำลังเสี่ยงต่อภาวะอดอยากและขาดอาหาร
- 29 มีนาคม – เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร เริ่มใช้มาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน เพื่อเริ่มต้นกระบวนการแยกสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ
เมษายน
- 4 เมษายน – กองทัพสหรัฐยิงขีปนาวุธโทมาฮอว์ก 59 ลูกใส่ฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งในประเทศซีเรีย เพื่อตอบโต้การโจมตีเคมีต่อเมืองที่ฝ่ายกบฏควบคุม รัฐบาลรัสเซียประณามสหรัฐว่าแสดงพฤติกรรม "ก้าวร้าว" และทำลายความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย
พฤษภาคม
- 12 พฤษภาคม – เกิดเหตุโจมตีทางไซเบอร์ด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ชื่อ "วอนนาคราย" ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในอย่างน้อย 150 ประเทศทั่วโลก
มิถุนายน
- 1 มิถุนายน – ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศถอนสหรัฐออกจากความตกลงปารีส
- 5 มิถุนายน
- ประเทศมอนเตเนโกรเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือในฐานะสมาชิกลำดับที่ 29
- ประเทศอาหรับ 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ บาห์เรน เยเมน ลิเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกาตาร์ ด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นประเทศที่สนับสนุนกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์
- 25 มิถุนายน – องค์การอนามัยโลกประมาณการว่า มีผู้ป่วยอหิวาตกโรคในประเทศเยเมนมากกว่า 2 แสนราย
กรกฎาคม
- 4 กรกฎาคม
- พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
- รัฐบาลรัสเซียและจีนขอให้ประเทศเกาหลีเหนือยุติโครงการขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ หลังจากรัฐบาลเกาหลีเหนือทดสอบการยิงขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามทวีปได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
- 6 กรกฎาคม – สหภาพยุโรปบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่น ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
- 7 กรกฎาคม – สมาชิกสหประชาชาติ 122 ประเทศ ออกเสียงสนับสนุนสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์
- 12 กรกฎาคม – ภูเขาน้ำแข็ง เอ-68ซึ่งมีขนาดกว่า 5,800 ตารางกิโลเมตร แตกตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซีในทวีปแอนตาร์กติกา
สิงหาคม
- 2 สิงหาคม – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเอกฉันท์คว่ำบาตรประเทศเกาหลีเหนือเพิ่มเติมในด้านการค้าและการลงทุน หลังจากรัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงดำเนินโครงการทดสอบขีปนาวุธ
- 21 สิงหาคม – เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่สามารถมองเห็นได้ในสหรัฐแผ่นดินใหญ่นับตั้งแต่ปี 2522
กันยายน
- 1 กันยายน – วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ขับไล่เจ้าหน้าที่การทูตสหรัฐ 755 คนออกจากประเทศรัสเซีย เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ
- 3 กันยายน – ประเทศเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 6
- 13 กันยายน – คณะกรรมการโอลิมปิกสากลประกาศผลเมืองที่จะได้เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 คือ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และโอลิมปิกฤดูร้อน 2028 คือ นครลอสแอนเจลิส สหรัฐ
- 15 กันยายน – ยานอวกาศแคสซีนี–ไฮเกนส์ ซึ่งเป็นยานอวกาศที่ใช้สำรวจดาวเสาร์มาเป็นเวลากว่า 13 ปี ได้ถูกปลดระวางโดยการปล่อยลงสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์
- 19 กันยายน - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ในตอนกลางของประเทศเม็กซิโก ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 200 คน
ตุลาคม
- 14 ตุลาคม – เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้ง ในกรุงโมกาดิชู ประเทศโซมาเลีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 320 คน
- 28 ตุลาคม – กาตาลุญญาประกาศเอกราชจากสเปน
พฤศจิกายน
- 12 พฤศจิกายน - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 ที่ประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดที่ จังหวัดเคร์มอนชอฮ์ ประเทศอิหร่าน มีผู้เสียชีวิต 630 คน
ธันวาคม
- 5 ธันวาคม - วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครบ 90 ปี
- 6 ธันวาคม - ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศรับรอง กรุงเยรูซาเล็มให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอลอย่างเป็นทางการ
มกราคม
- 4 มกราคม – เอซีโอ ปัสกุตตี นักฟุตบอลชาวอิตาลี (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2480)
- 7 มกราคม – มารีอู ซูอารึช ประธานาธิบดีโปรตุเกส (เกิด 7 ธันวาคม พ.ศ. 2467)
- 9 มกราคม – โรเบร์โต กาบัญญัส นักฟุตบอลชาวปารากวัย (เกิด 11 เมษายน พ.ศ. 2504)
- 10 มกราคม – โรมาน แฮร์ซอก ประธานาธิบดีเยอรมนี (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2477)
- 15 มกราคม – จิมมี สนูกกา นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันเชื้อสายฟิจิ (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2486)
- 16 มกราคม – ยูจีน เซอร์นัน นักบินอวกาศชาวอเมริกัน (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2477)
- 26 มกราคม – ไมก์ คอนเนอส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2468)
- 27 มกราคม – แอมานุแอล รีวา นักแสดงชาวฝรั่งเศส (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470)
กุมภาพันธ์
- 12 กุมภาพันธ์ – อัล จาร์โร นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2483)
- 13 กุมภาพันธ์ – คิม จ็อง-นัม พี่ชายต่างมารดาของคิม จ็อง-อึน ผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2514)
- 18 กุมภาพันธ์ – อีแวน โคลอฟฟ์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดา (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485)
- 19 กุมภาพันธ์ – สมเด็จพระราชินีฮาลาเอวาลู มาตาอาโฮ อาโฮเมเอ พระบรมราชชนีแห่งตองงา (พระราชสมภพ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2470)
- 21 กุมภาพันธ์ – เคนเนธ แอร์โรว์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2464)
- 25 กุมภาพันธ์ – บิลล์ แพกซ์ตัน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498)
มีนาคม
- 18 มีนาคม – ชัค เบอร์รี นักร้องและนักดนตรีชาวอเมริกัน (เกิด 18 ตุลาคม พ.ศ. 2469)
เมษายน
- 2 เมษายน – หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช อดีตองคมนตรี และศิลปินแห่งชาติ (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477)
พฤษภาคม
- 18 พฤษภาคม - ชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2589)
- 19 พฤษภาคม - สตานิสลาฟ เปตรอฟ นาวาอากาศโทแห่งกองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต (เกิด 7 กันยายน พ.ศ. 2482)
- 23 พฤษภาคม – โรเจอร์ มัวร์ นักแสดงชาวอังกฤษ (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2470)
มิถุนายน
- 16 มิถุนายน – เฮ็ลมูท โคล นักการเมืองชาวเยอรมนี อดีตนายกรัฐมนตรี (เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2473)
- 20 มิถุนายน - สุดใจ เที่ยงตรงกิจ (หนิงหน่อง เพชรพิณทอง) ศิลปินชาวไทย (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2492)
กรกฎาคม
- 7 กรกฎาคม – ฐิติมา สุตสุนทร นักร้องและนักแสดงชาวไทย (เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2504)
- 13 กรกฎาคม – หลิว เสี่ยวโป นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวจีน (เกิด 28 ธันวาคม พ.ศ. 2498)
- 16 กรกฎาคม – จอร์จ เอ. โรเมโร ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน-แคนาดา (เกิด 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483)
- 19 กรกฎาคม – พระมงคลสิทธาจารย์ (รวย ปาสาทิโก) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2464)
- 20 กรกฎาคม – เชสเตอร์ เบนนิงตัน นักตนตรีชาวอเมริกัน (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2519)
สิงหาคม
- 20 สิงหาคม – มาร์กอต ฮีเอิลเชอร์ นักร้องและนักแสดงชาวเยอรมัน (เกิด 29 กันยายน พ.ศ. 2462)
- 24 สิงหาคม – เจย์ โทมัส นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2491)
- 28 สิงหาคม – สึโตมุ ฮาตะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 51 แห่งประเทศญี่ปุ่น (เกิด 24 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
กันยายน
- 11 กันยายน – สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ (พระราชสมภพ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)
- 17 กันยายน – บ็อบบี ฮีแนน นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (เกิด 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487)
- 27 กันยายน – ฮิวจ์ เฮฟเนอร์ ผู้จัดจำหน่ายนิตยสารชาวอเมริกัน (เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2469)
ตุลาคม
-
พฤศจิกายน
- 6 พฤศจิกายน - คาริน ดอร์ นักแสดงชาวเยอรมัน (เกิด 22 กุมภาพันธ์ 2481)
- 7 พฤศจิกายน – ฮันส์ เชเฟอร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน (เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2470)
- 16 พฤศจิกายน – ฮิโรมิ สึรุ นักแสดงและนักพากย์ชาวญี่ปุ่น (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2503)
- 19 พฤศจิกายน – ชาร์ล แมนสัน อาชญากรและผู้นำลัทธิชาวอเมริกัน (เกิด 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477)
- 30 พฤศจิกายน – สุรินทร์ พิศสุวรรณ นักการเมืองและนักการทูตชาวไทย อดีตเลขาธิการอาเซียน (เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492)
ธันวาคม
- 4 ธันวาคม – อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ อดีตประธานาธิบดีเยเมน (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2485)
- 5 ธันวาคม – สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย (พระราชสมภพ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2464)
- 18 ธันวาคม – คิม จง-ฮย็อน นักร้องชาวเกาหลีใต้ (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2533)
- สาขาเคมี – ฌัก ดูบอเชต์, โยอาคิม ฟรังค์ และ ริชาร์ด เฮนเดอร์สัน
- สาขาวรรณกรรม – คะซึโอะ อิชิงุโระ
- สาขาสันติภาพ – คณะกรรมการรณรงค์เพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ
- สาขาฟิสิกส์ – เรเนอร์ ไวส์, แบร์รี แบริช และ คิป ธอร์น
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เจฟฟรีย์ ซี ฮอลล์, ไมเคิล รอสแบช และ ไมเคิล ดับเบิลยู ยัง
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – ริชาร์ด เอช เธเลอร์
การ์ตูน
- อนิเมะเรื่อง โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช ดำเนินเหตุการณ์ตามปีนี้
ภาพยนตร์
- ภาพยนตร์เรื่อง เทอร์มิเนเตอร์ ได้บอกว่าสกายเน็ตจะถูกเปิดใช้ในเดือนตุลาคม 2017 (ตามเนื้อเรื่อง)
- ภาพยนตร์เรื่อง พรจากฟ้า ตอน "พรปีใหม่" ดำเนินเรื่องในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2560-2561
- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- "". UNWTO. 7 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2560.
- The Associated Press. "". The New York Times. 20 January 2017. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2560.
- "". BBC. 21 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2560.
- Jason Easley. "". Politicus USA. 21 January 2017. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2560.
- "". Harvard Gazette. 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2560.
- Ian Johnston. "". Independent. 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2560.
- Executive Office of the President. ". Federal Register. 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2560.
- "". BBC. 12 February 2017. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2560.
- "". BBC. 10 March 2017. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560.
- "". BBC. 11 March 2017. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560.
- "". BBC. 29 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2560.
- "". BBC. 7 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2560.
- "". Sky News. 13 May 2017. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560.
- "". BBC. 14 May 2017. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560.
- Riley Beggin, Jordyn Phelps, and etc. "". ABC News. 1 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560.
- "". The Wall Street Journal. 25 May 2017. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560.
- "". BBC. 5 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560.
- Thomson Reuters. "". CBC News. 25 June 2017. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560.
- "". BBC. 4 July 2017. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2560.
- Euan McKirdy. "". CNN. 4 July 2017. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2560.
- "". BBC. 6 July 2017. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2560.
- United Nations. "". 7 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560.
- Lauren Said-Moorhouse. "". CNN. 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2560.
- "." BBC. 6 August 2017. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2560.
- . Hermit.org. Updated 2006. Retrieved September 12, 2012.
- "." Fox News. 31 July 2017. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560.
- David E. Sanger and Choe Sang-Hun. "." The New York Times. 2 September 2017. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560.
- . Jet Propulsion Laboratory. NASA. สืบค้นเมื่อSeptember 5, 2015.
- . CNN. October 27, 2017. สืบค้นเมื่อOctober 27, 2017.
- . Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อOctober 4, 2017.
- . Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อOctober 5, 2017.
- . Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อOctober 5, 2017.
- . Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อOctober 3, 2017.
- . Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อOctober 3, 2017.
- . Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อOctober 9, 2017.
