ชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน้ำคลองลัดมะยม และพันเอก สุชาติ จันทรโชติกุล อดีต ส.ส. สงขลา พรรคความหวังใหม่ และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นผู้จดจองชื่อพรรคพลังประชารัฐต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 ชื่อพรรค "พลังประชารัฐ" เป็นชื่อนโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่สำคัญของรัฐบาลประยุทธ์ พรรคได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม "สามมิตร" ซึ่งมีแกนนำเป็นอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ได้แก่ สมศักดิ์ เทพสุทิน, สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอยู่ กลุ่มดังกล่าวพยายามดึงตัวสมาชิกรัฐสภาทั้งจากพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ขณะที่ยังมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น
พรรคจัดประชุมสามัญใหญ่ของพรรคเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 เพื่อเลือก หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกจำนวน 25 คนปรากฏว่า อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลประยุทธ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลประยุทธ์ 1 เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายอุตตมพร้อมคณะได้เดินทางมายัง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอย่างเป็นทางการ
ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีบุคคลกว่า 150 คนเข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ โดยมีทั้งอดีตสมาชิกรัฐสภา อดีตรัฐมนตรีและบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งในจำนวนนี้มีสมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย และสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา นักการเมืองท้องถิ่น รวมถึงอดีตแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 4 คนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาหาเสียงเต็มเวลา หลังถูกวิจารณ์มาหลายเดือน
การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562
พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แม้มีพรรคการเมืองหลายพรรคสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคพลังประชารัฐถูกมองว่าเป็น "พรรคนิยมประยุทธ์อย่างเป็นทางการ" เพราะแกนนำพรรคหลายคนเป็นรัฐมนตรีและที่ปรึกษาในรัฐบาลประยุทธ์
ในการเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐเสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 425 บาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม ทำไม่ได้จริง หรือทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน แต่พรรคยืนยันว่าสามารถทำได้จริง
พรรคพลังประชารัฐถูกร้องเรียนว่าได้รับการสนับสนุนอย่างลำเอียงจากเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 รัฐบาลประยุทธ์อนุมัติงบประมาณอัดฉีดเงินสด 86,700 ล้านบาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการใช้เงินภาษีซื้อเสียง นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐยังถูกกล่าวหาว่ามีการให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐเพื่อแลกกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นนโยบายช่วยเหลือคนยากจนของรัฐบาล
พลเอกประยุทธ์ใช้อำนาจเต็มที่ตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว สั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งวาดเขตเลือกตั้งใหม่ นักวิจารณ์ระบุว่า การวาดเขตเลือกตั้งใหม่นี้เอื้อประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ โดยบางคนให้ความเห็นว่า พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว
วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุนมูลค่า 600 ล้านบาท โดยมีแผนที่ซึ่งมีชื่อหน่วยงานของรัฐ เช่น กระทรวงการคลัง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมด้วย ทำให้มีข้อกังขาว่ามีการใช้เงินภาษีหรือหาผู้บริจาคหรือผู้ซื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยงานดังกล่าวซึ่งอาจต้องมีการตอบแทนในอนาคต ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 พรรคเปิดเผยชื่อผู้บริจาคในงานดังกล่าวตามระเบียบ 90 ล้านบาท โดยเป็นชื่อผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม พรรคไม่ได้เปิดเผยแหล่งที่มาของเงินบริจาคที่เหลือ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562 กกต. เปิดเผยว่า ไม่พบความผิดที่พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุน เนื่องจากไม่พบบุคคลต่างชาติบริจาคเงิน จึงไม่มีความผิดและไม่ต้องยุบพรรค ทว่าต่อมาสำนักข่าวอิศราพบว่า มีกลุ่มทุนจากประเทศไอซ์แลนด์ถือหุ้นในบริษัทที่บริจาคเงินให้พรรคพลังประชารัฐ
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นคำร้องไต่สวนยุบพรรค เนื่องจากเสนอชื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามเพราะดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงว่า พลเอกประยุทธ์ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ และจะไม่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองต่อ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นเอาผิดจากกรณีปราศรัยนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาหาเสียง เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมทรัพย์สินเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งเบื้องต้นพบว่าพรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. มากเกินคาด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครสามารถแย่งที่นั่งจากพรรคประชาธิปัตย์ได้ทั้งหมด ทำให้ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์ข่าวหุ้น เขียนว่า คนชั้นกลางเก่าอนุรักษนิยมที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์หันไปเลือกพรรคพลังประชารัฐแทน แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพราะเกลียดทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ใบตองแห้งยังเขียนว่า พรรคพลังประชารัฐใช้ปัจจัยในการเมืองแบบเก่าเพื่อเอาชนะ คือ นโยบายประชานิยม ส.ส.ที่ดูดจากพรรคอื่น ประกอบกับอำนาจรัฐราชการ นอกเหนือจากฐานเสียงอนุรักษนิยมในต่างจังหวัด องค์ประกอบของรัฐบาลที่อาจเกิดจากพรรคพลังประชารัฐตั้งจะมีองค์ประกอบจะเป็นนักการเมืองทุนท้องถิ่น ย้อนกลับไปเหมือนสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|
2562 | | 8,441,274 | 23.74% | แกนนำจัดตั้งรัฐบาล | พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา |
---|
ครม. ประยุทธ์ 2
ก่อนมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 มีข่าวแย่งตำแหน่งภายในพรรคพลังประชารัฐ โดยกลุ่มสามมิตรซึ่งประกอบด้วยสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, สมศักดิ์ เทพสุทิน และอนุชา นาคาศัยแถลงยืนยันว่าตนต้องได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีตามโผในวันที่ 11 มิถุนายน ซึ่งหากไม่ตรงก็จะแสดงจุดยืนอีกครั้ง และมีข่าวกลุ่มสามมิตรพยายามเสนอญัตติขับไล่สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ออกจากตำแหน่ง เพราะ "เป็นภัยต่อความมั่นคงของพรรคและของรัฐบาลเป็นอย่างสูง ... ไม่ยึดโยงกับ ส.ส. ในพรรค ไม่เห็นหัว ส.ส. ในพรรคแม้แต่คนเดียว ... ท่านทำให้พรรคเราแตกแยก" ก่อนที่ต่อมากลุ่มสามมิตรจะยอมล้มข้อเรียกร้องของตนเองและยอมรับให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดสรรคณะรัฐมนตรี โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่าจะมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคจากอุตตม สาวนายน เป็นพลเอกประยุทธ์
ต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐออกมายอมรับว่าต้องชะลอนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาทต่อวัน แม้ก่อนหน้านี้จะยืนยันว่าจะนำนโยบายไปปฏิบัติในระหว่างหาเสียง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐจำนวน 18 คนลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคชุดเดิมที่ทำหน้าที่อยู่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับพรรค ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พรรคพลังประชารัฐได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2563 ที่ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมีการแก้ไขเพื่อปรับเปลี่ยนรูปเครื่องหมายพรรคการเมือง และย้ายที่ทำการพรรคแห่งใหม่ไปยังอาคารรัชดาวัน ถนนรัชดาภิเษก ตรงข้ามศาลอาญา และมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค และพัชรินทร์ ซำศิริพงษ์เป็นโฆษกพรรค
รายชื่อหัวหน้าพรรค
รายชื่อเลขาธิการพรรค
- . แนวหน้า. 29 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2562.Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - . แนวหน้า. 4 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2562.Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - . สืบค้นเมื่อ13 March 2019.
- . Tnnthailand.com. สืบค้นเมื่อ13 March 2019.
- . Fitchsolutions.com. 13 August 2018. สืบค้นเมื่อ13 March 2019.
- . The Nation. สืบค้นเมื่อ13 March 2019.
- ไทยรัฐ 2 มีนาคม 2561
- . Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ2018-11-27.
-
- . Khaosod English (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-27. สืบค้นเมื่อ2018-11-27.
- . ประชาไท. สืบค้นเมื่อ2019-03-27.
- . Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ2019-01-30.
- . Khaosod English. 19 November 2018.
- . Bangkok Post. 30 June 2018.
- Asaree Thaitrakulpanich (February 27, 2019). . Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 3-3-2019.Check date values in:
|access-date=
(help) - . ไทยรัฐ. 17 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 17-3-2019.Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - Mongkol Bangprapa (2 July 2018). . Bangkok Post.
- . The Nation. 3 July 2018.
- . Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ2018-11-29.
- . Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ2018-11-29.
- . Pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ2018-12-26.
- . Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ2018-11-28.
- . The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ2018-11-28.
- . The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ2018-11-28.
- . The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ2018-11-29.
- . Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ2018-12-26.
- . Isranews.org. 2019-01-28. สืบค้นเมื่อ2019-02-03.
- . ไทยพีบีเอส. 12 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ2019-03-13.Check date values in:
|date=
(help) - . ประชาไท. 2019-03-16. สืบค้นเมื่อ2019-03-27.
- . ไทยรัฐ. 16 ก.พ. 2562. สืบค้นเมื่อ2019-02-27.Check date values in:
|date=
(help) - . เดลินิวส์. 14 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ2019-03-14.Check date values in:
|date=
(help) - . ไทยรัฐ. 14 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ2019-03-14.Check date values in:
|date=
(help) - . ข่าวหุ้น. 25 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ2019-03-27.Check date values in:
|date=
(help) - ไทยพีบีเอส (1 มิถุนายน 2563). . news.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2563.Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ไทยรัฐ (27 มิถุนายน 2563). . www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2563.Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)
